17 ส.ค. 2553

โครงการศึกษาภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลาน (วันที่ 2)

หลังจากการเรียนสัปดาห์แรกผ่านพ้นไป ดูเหมือนว่านักเรียนจะเริ่มคุ้นเคยกับใบลานมากขึ้น สัปดาห์นี้วิทยากรเปลี่ยนให้เราได้ศึกษากับใบลานฉบับตาฮอง (เรียกตาม ตาฮอง เจ้าของใบลาน อาศัยอยู่ที่ บ้านเขวา อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์) ใบลานมัดนี้เป็นใบลานที่มีความกว้างไม่มาก ตัวหนังสือใหญ่กว่าและดูง่ายกว่าฉบับเกรกาล ที่เราใช้ศึกษาเมื่อครั้งที่แล้ว



สัปดาห์นี้ไม่มีการเขียนคำอ่านที่ผ่านการถอดความเหมือนก่อนหน้า วิทยากรจะฉายภาพแสกนบนโปรเจคเตอร์และให้ทั้งห้องช่วยกันอ่านไปพร้อมๆ กัน หลังจากอ่านไปได้สิบกว่าแผ่นก็ย้อนมาอ่านอีกรอบ คราวนี้ให้อ่านคนละใบทีละคนแทน

ปัญหาของผมก็ยังมีอยู่้เช่นเดิม คือผมไม่ชินกับอักษรโมลและการสะกดคำแบบแปลกๆ ที่ใช้อยู่ในสมัยนั้น ส่วนป้าๆ ลุึงๆ ที่มาจากบ้านสวาย ดูจะอ่านได้คล่องกว่าคนอื่นๆ



สัปดาห์นี้มีการพยามแก้ปัญหาเรื่องการอ่านใบลานไม่สะดวก เพราะถ่ายสำเนาใบลานแบบขาวดำมาอยู่ในเอกสารประกอบการอบรม สำหรับครั้งนี้ผู้จัดได้นำเครื่องโน้ตบุคส์มาสามสี่เครื่อง แล้วให้อ่านใบลานที่แสกนไว้ผ่านหน้าจอโน้ตบุคส์ ปรากฏว่าได้ผลดีพอสมควร เพราะเห็นสีสันชัดเจนและซูมดูโดยละเอียดได้ (จะว่าไปแล้วก็สะดวกกว่าอ่านใบลานของจริงโดยตรงซะอีก)

เนื้อหาของใบลาน
เนื้่อหาในใบลานมัดนี้เป็นร้อยแก้วเกี่ยวกับตำราโหร เช่น วันตัดผม ตำแหน่งชีพจรตามวันเวลา การตั้งเสาร์บ้าน เป็นต้น
ผมจะขอแปลตัวอย่างสักแผ่นสองแผ่นแรกมาให้อ่านนะครับ


[คลิ๊กเพื่อชมภาพที่มีความละเอียดสูงได้]

សិត្ធិការ្យ ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ១ មានអាយូសវែងហោង​ ។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ២ នូវមានទោស អាត្មាហោ។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៣ បំបាត់ទុកផង​ ។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៤​ មានជុំលោះប្រកែក​។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៥ នូវអ្នកផងស្រលាញ់ច្រើនឲ្យទ្រព្យ។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៦ (จบแผ่นแรก)
สิทธิการิยะ ตัดผมวันที่ 1​ (ตามปฏิทินจันทรคติีเริ่มนับจากวันอาทิตย์) มีอายุยืนยาว
ตัดผมวันที่ 2 เป็นโทษกับตนเอง
ตัดผมวันที่ 3 ทำให้หมดทุึกข์
ตัดผมวันที่ 4 ทำให้ทะเลาะกัน
ตัดผมวันที่ 5 มีคนรักและให้ทรัพย์สมบัติ
ตัดผมวันที่ 6 (จบแผ่นแแรก)



នូវមានអាហារច្រើនហោង​។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៧​ នូវមានជំងឺឈឺដំកាត់ហោង
(ต่อ) มีอาหารอุดมสมบูรณ์
ตัดผมวันที่ 7 ทำให้เจ็บป่วย

เพิ่มเติม
- ชมภาพใบลานที่ใช้ศึกษาได้ที่นี่ (ความละเอียดสูงสามารถดาวน์โหลดไปศึกษาเองได้)
- ชมภาพกิจกรรมได้ที่นี่่

8 ส.ค. 2553

โครงการศึกษาภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลาน (วันที่ 1)

ผมได้เข้าร่วม(หรือ บางทีผมอาจจะอยู่ฝ่ายผู้จัดมากกว่านะ ?) โครงการศึกษาภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลาน ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 7,14 และ 21 สิงหาคม 2553 ณ วัดจำปา ต.ในเมือง จ.สุรินทร์



ที่มาของกิจกรรมนี้คือ ทางสมาคมฯ เองก็ทำงานด้้านสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ภาษาถิ่นอยู่แล้ว การศึกษาภาษาถิ่นจากคัมภีร์ใบลานก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ดำเนินการอยู่นอกจากกิจกรรมสอนภาษาเขมรที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้เปิดการอบรมการเรียนภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลานขึ้นสำหรับผู้สนใจขึ้น (ใครสนใจก็มาร่วมได้เลย ไม่ต้องสมัคร ไม่ต้องแจ้งอะไรทั้งสิ้น เสียค่าเอกสาร 50 บาท) จุดประสงค์อีกประการของกิจกรรมนี้คือ ต้องการลบความเชื่อของหลายๆ คน ที่เชื่อว่า "เขมรสุรินทร์ไม่มีภาษาเขียน" ซึ่งจารึกในใบลานที่ีมีอยู่ตามวัดต่างๆ คงจะตอบได้ว่าความเชื่อดังกล่าวถูกต้องหรือไม่



เนื้อหาการอบรมในครั้งแรกมีดังนี้
1.แนะนำและจำแนกประเภทของสื่อที่บันทึกเรื่องราวในอดีต
ผมก็ฟังได้คร่าว มีการพูดถึง "จบับ" , "เรียมเกร" และ "ศิลาจารึก" และเนื้อหาโดยร่วมๆ ที่มีการบันทึกลงในสื่อแต่ประเภท

2. แนวทางการอ่านใบลาน
2.1 อ่านอักษรที่อยู่บนใบลาน
เริ่มจาการแสกนใบลานมาเก็บไว้ก่อนและเริ่มอ่านสิ่งที่เขียนไว้ทุกๆ ตัวอักษรโดยละเอียด การแกะตัวอักษรบนใบลานจากหน้ากระดาษที่ถ่ายเอกสารมาอีกทีทำให้ต้องเพ่งอย่างมาก ผมแนะนำให้ซื้อแว่นขยายมาใช้เป็นเครื่องมือด้วย อักษรที่เขียนนั้นมีบางส่วนที่เขียนไม่เหมือนในปัจจุบัน (จริงๆ ต้องบอกว่า ในปัจจุบันไม่เหมือนสมัยโน้นมากกว่า) รวมทั้งไวยากรณ์ การสะกดที่ดูแปลกๆ จึงต้องมีการตีความจากบริบทต่างๆ ประกอบด้วย


[นี่คืือใบลานที่ถูกอ่านออกมาแบบดิบๆ (คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)]

เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนนี้ ท่านจะได้ภาษาโบราณออกมา อ่านพอเข้าใจแต่ก็ดูแปลกๆ

2.2 แปลจากภาษาโบราณเป็นภาษาปัจจุับัน
เมื่อได้ภาษาโบราณแล้ว เราก็แปลให้สละสลวยเป็นภาษาในยุคปัจจุบันให้คนทั่วไปอ่านได้ หรือจะนำวิเคราะห์สังเคราะห์ฺอะไรก็ตามที่ท่านต้องการ

3. การฝึกปฏิบัติ
เราเริ่มศึกษาจาก​​​​คำประพันธ์ที่เรียกว่า จบับเกรกาล​(เก-ระ-กาล) ซึ่งเป็นร้อยกรองประเภทกาพย์ "พรหมกิติ์"(เป็นชื่อประเภทของกาพย์ชนิดหนึ่ง) ที่ได้มาจากใบลานของวัดจำปานี่เอง ผู้บรรยายได้จัดแสกนใบลานเองในเอกสารประกอบการอบรมไว้แล้ว ในการฝึกปฏิบัติจะย้อนกระบวนการในข้อ 2 คือแทนที่จะให้ผู้รับการอบรมตีความเอง ผู้บรรยายจะนำเนื้อหาที่เป็นภาษาปัจจุึบัน , เนื้่อหาที่เป็นภาษาโบราณ ที่ถอดความมาก่อนแล้ว มาให้ศึกษาและฝึกอ่านให้คล่องก่อน



จากนั้นจึงให้กลับไปลองอ่านจากใบลาน เพื่อให้เปรียบเทียบและทำความเข้าใจว่า ตัวอักษรแต่ละตัวในใบลานนั้น มีการถอดความมาได้อย่างไร หากมีข้อข้องใจก็ซักถามได้

การเลือกกาพย์มาให้ศึกษาในเบื้องต้นมีข้อดีหลายประการ คือ ข้อบังคับเรื่องจำนวนคำและสัมผัสคล้องจองในกาพย์จะทำให้สามารถตีความเนื้อหาที่ไม่เข้าใจได้ง่ายขึ้น การฝึกอ่านคำคล้องจองก็ไพเราะดีทำให้ไม่น่าเบื่อ โดยเนื้อหารวมๆ ของกาพย์ดังกล่าวเป็นเรื่องของเศรษฐีสั่งสอนให้ลูกหลานได้ประพฤติปฏิบัติตัวใด้ดี

สำหรับการอบรมคราวต่อไป วิทยากรให้ไปอ่านใบลานบางส่วนมาเองล่วงหน้า

ส่ิงท้าย
การอบรมนี้เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจ ซึ่งสามารถเข้าร่วมได้ในวันเวลาที่เหลือดังกล่าว ถึงแม้ท่านไม่รู้ภาษาเขมรแม้แต่น้อย ท่านก็สามารถเข้าร่วมกับพวกเราในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้เช่นกัน

เพิ่มเติม
- ชมภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่นี่

โปรแกรมเยี่ยมชมนครวัดและทำบุญในวันเข้าพรรษา


สมาคมภาษาและวัฒนธรรม ได้จัดโปรแกรมเยี่ยมชมนครวัดและทำบุญในวันเข้าพรรษาสำหรับผู้่สนใจภาษาเขมร เมื่อวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2553

2 ส.ค. 2553

โีครงการอบรมภาษาเขมรสำหรับข้าราชการในจังหวัดสุรินทร์ ปี 2553

สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ร่วมกับสมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ได้จัดอบรมภาษาเขมร หลักสูตร 60 ชั่วโมง ให้กับข้าราชการในสังกัดที่สนใจ การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นในวันเสาร์อาทิตย์ ณ ห้องประชุมชั้นสอง ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมจนถึงวันที่ 3 กรกฏาคม 2553 โดยมีข้าราชการให้ความสนใจเข้าร่วมการอบรมประมาณ 40 คน


เพิ่มเติม
- ชมภาพกิจกรรมได้ที่นี่