7 พ.ย. 2553

วันแรกของการอบรมการอ่านภาษาเขมร 30 ชม.

โครงการอบรม "การอ่านภาษาเขมร 30 ชั่วโมง" ได้เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2553 โดยมีผู้เข้าร่วม 12 ท่าน หลังจากสอบถามแล้วได้ความว่าส่วนใหญ่ทราบจากประกาศทีติดไว้หน้าห้องสมุดประชาชนจังหวัด มีแค่คนเดียวที่ทราบจากทางอินเทอร์เนต




สำหรับเนื้อหาในชั่วโมงแรกนี้ ผมก็พาผู้่เข้าร่วมการอบรมฝึกอ่านบทที่หนึ่ง "หน่วยเสียงในภาษาเขมร" อาจจะดูงงๆ กันบ้าง แต่ก็พอไหวเพราะเห็นว่ายังไม่เครียดกันเท่าไหร่นัก ใครสนใจก็ยังมาร่วมทันนะครับ หากช้ากว่านี้เดี๋ยวจะตามเพื่อนไม่ทัน

เพิ่มเติม
- ดูรูปทั้งหมดได้ที่นี่

3 พ.ย. 2553

ความคืบหน้าของการอบรม"อ่านภาษาเขมร"

ขอรายงานความพร้อมของการอบรม "อ่านภาษาเขมร"

1. ห้องอบรม
ทางห้องสมุดจังหวัดสุรินทร์ได้อนุเคราะห์สถานที่อบรม เป็นหัองประชุมย่อยจุคนได้สิบกว่าคน มีกระดานพร้อม




2. เอกสารพร้อม
เอกสารฝึกอบรมจำนวน 10 ชุดพร้อมแล้วครับ (ยังไม่ได้ถ่ายภาพมาโชว์)

3. จำนวนผู้สมัคร
ขณะนี้มีผู้สมัครเข้าอบรม จำนวน 10 ท่าน


4. เครื่องคอมพิวเตอร์
ตอนนี้ใช้งานอินเทอร์เนตได้ แต่ยังไม่ได้ปรับแต่งให้ใช้ฟอนต์เขมร แต่จะเรียบร้อยในวันอบรมครับ


5. เครื่องดื่ม
ขณะนี้เตรียมน้ำเปล่าหาไว้แล้ว ที่จะเตรียมเพิ่มเติมคือกาแฟ

เวลาเจอกันวันที่ 7 พ.ย. 53 เวลา 13.00 น.นะครับ

31 ต.ค. 2553

แนะนำบทความ "ไทย-กัมพูชา อีกกี่ปีเราจะไม่ปะทะกัน (ตอนจบ)"

บทความนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสท์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2552 ส่วนหนึ่งของบทความได้ัมาจากการรับฟังการบรรยายหัวข้อ "ขแมร์เลอ-ขแมร์กรอม ความสัมพันธ์ชาติพันธุ์วรรณา ในเทือกเขาพนมดองแร็ก" ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักสุรินทร์สโมสรร่วมกับศูนย์ประเทศเพื่อนบ้านศึกษาและฝ่าย ยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้าน สำนักงานจังหวัดสุรินทร์

แต่ประโยคประทับจากของผมมาจากอธิบายการบดีสถาบันราชภัฎสุรินทร์ : "เราผลิตบัณฑิต โดยไม่เน้นภาษาอังกฤษ เพราะหากเก่งแต่ภาษาอังกฤษก็ไม่สามารถไปเก็บข้อมูลที่ถูกต้องมาได้"

หากถามว่าพูดเช่นนี้ถูกต้องไหม? แน่นอนครับไม่มีอะไรผิดเลย แต่โดยหลักเช่นนี้ ผมก็อาจจะพูดได้ว่า
- "ไม่ต้องสอนให้ลูกหลานว่ายน้ำหรอก เพราะบ้านเราไม่ได้มีลำคลอง แม่น้ำ หรือทะเล"

ประเด็นอยู่ที่ว่า ทักษะที่จะฝึกให้นักศึกษามีการ"เก็บข้อมูล" อย่างนั้นหรือ การค้นคว้าหาข้อมูล การนำเสนอผลงานวิชาการในวงกว้าง (ซึ่งต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง) ไม่มีความจำเป็นหรืออย่างไร ???

ติดตามอ่านได้ที่ http://www.thaipost.net/news/150609/6242

27 ต.ค. 2553

Bamboo Railway


(ภาพประกอบจาก http://www.4cornerscambodia.co.nz/index.html )

เนื่องจากบริการรถไฟสาธารณะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก ชาวกัมพูชาบางคนแถวบัตดัมบองเลยผลิตรถไฟแบบบ้านๆ ขึ้นใช้เองเลย
ดูํวิดิโอแบบละเีอียดๆ ได้ที่ที่

คณะนักกันตรึมจากจังหวัดสุรินทร์เดินทางไปแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม 2554

คณะนักกันตรึมจากจังหวัดสุรินทร์เดินทางไปแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม 2554 ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างสมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ และคณะกรรมการช่วยเหลือพี่น้องเขมรจังหวัดสุรินทร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา


เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2553 นายชัยมงคล เฉลิมสุขจิตศรี นายกสามาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินท์ ได้จัดแถลงข่าวการนำคณะนักกันตรีม 2 ท่าน และนักเจรียงจาเปย จำนวน 1 ท่านไปแสดงตามโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับคณะทำงานช่วยเหลือเขมรสุรินทร์ ซึ่งเป็นสมาคมของชาวเขมรในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยจะเปิดการแสดงใน 15 รัฐของอเมริกา โดยมีการกำหนดเดินทางกลับประเทศไทยในปลายเดือนมีนาคม 2554 นี้ โดยนายกสมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ได้นำคณะดาก้ากันตรึมร็อคและลุงจุม นักเจรียงจาเป่ยภาษาเขมรที่เหลือเพียงคนเดียวของจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีษะเกษ โดยวัถถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับพี่น้องขาวเขมรในสหรัฐและเพื่อเป็นการส่งเสริมศิลปินกันตรึมจังหวัดสุรินทร์ให้ไปสู่ระดับนานาชาติและเพื่อสร้างโอกาสให้ศิลปินพื้นบ้านออกไปสู่ตลาดสากลด้วย

เนื้อหาข่าวโดยละเอียด
- ข่าวภาษาไทย


- ข่าวภาษาอังกฤษ


- ข่าวภาษาเขมร

19 ต.ค. 2553

เชิญเข้าร่วมการอบรม "อ่านภาษาเขมร"



ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมการอ่านภาษาเขมรระยะเวลา 30 ชม.
วิทยากรโดย วิทยา วิจิตร(ผมเองครับ)

รายละเีอียด
- อบรมทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 - 16.00 น. ตั้งแต่อาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2553 ถึงวันที่ 16 มกราคม 2554
- สถานที่ ชั้นสอง ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุรินทร์
- จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมจำนวนไม่เกิน 12 คน
- ค่าใช้จ่าย 100 บาท/ท่าน (เป็นค่าเอกสารการอบรม)

เนื้อหาการอบรม
บทที่ 1 หน่วยเสียงในภาษาเขมร
บทที่ 2 สระในภาษาเขมร
บทที่ 3 พยัญชนะอโฆษะ
บทที่ 4 พยัญชนะโฆษะ
บทที่ 5 ตัวสะกดและเสียงสระ
บทที่ 6 พยัญชนะเชิงและพยัญชนะซ้อน(1)
บทที่ 7 พยัญชนะเชิงและพยัญชนะซ้อน(2)
บทที่ 8 ฝึกอ่านร้อยแก้ว

เอกสารการอบรม
- คู่มือ "การอ่านภาษาเขมรเบื้องต้น ฉบับศึกษาด้วยตนเอง"
- คู่มือ "การอ่านภาษาเขมรเบื้องต้น ฉบับศึกษาด้วยตนเอง" (คู่มือผู้สอน)


สนใจสมัครได้ที่
- ลงชื่อได้ด้วยตนเองที่ ห้องสมุดประชาชนจังหว้ัดสุรินทร์
- แจ้งทางอีเมล์มาที่ indochinahub@gmail.com
-​ หรือทาง http://www.facebook.com/indochinahub

16 ต.ค. 2553

เชิญผู้สนใจเที่ยวนครวัด นครธม (วันหยุดยาว) 23-25 ตุลาคม 2553

ขอประชาสัมพันธ์เิชิญชวนผู้สนใจเที่ยวชมนครวัดนครธม ในวันที่ 23-25 ตุลาคม 2553
ผมได้ไปปีที่แล้วสนุกสนานดี อ่านได้ที่บล็อกของผม (ตอนที่่ 1 ,ตอนที่ 2 ,ตอนที่ 3 ,ตอนที่ 4)

หากใครสนใจก็ดาวน์โหลดรายละเอียดได้นะครับ


*******************************************************
รายละเอียดการวันที่หนึ่งสุรินทร์-ช่องสะงา-เสียมเรียบ
ออกเดินทางก่อนตะวันขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ เดินทางไปจังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา
อาหารเช้าที่อาเภออันล่วงแวง เดินทางเข้าที่พักและรับประทานอาหารเที่ยง
ก่อนออกชมทัศนียภาพและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเสียมเรียบ
ถวายบังคมขอพรจากพระองค์เจกพระองค์จอมพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเมืองเสียมเรียบและสิ่งศักดิ์สิทธิ
สาหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป อาหารเย็นและเข้าที่พัก สิ้นสุดรายการประจาวัน

วันที่สองของการเดินทาง
ตื่นเช้ารับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมก่อนออกเดินทางไปชมปราสาทบันทายศรีปราสาทบันทายสาเหร่
และปราสาทแปรรูปก่อนกลับเข้าเมืองเสียมเรียบเพื่อรับประทานอาหารเที่ยง
รายการภาคบ่ายเริ่มต้นด้วยปราสาทตาพรหม ลานหน้าพระราชวังหลวง ปราสาทวิมานอากาศ
และปราสาทบายน ปิดท้ายการเดินทางด้วยปราสาทนครวัด รับประทานอาหารเย็นที่ภัตตาคารและกลับที่พัก

วันที่สามของการเดินทาง
อาหารเช้าที่โรงแรมที่พัก ซื้อของที่ตลาดเก่า และล่องเรือท่องทะเลสาบ ที่กาปงพลุก
แวะทาบุญที่วัดก่อนรับประทานอาหารเที่ยงที่ภัตตาคาร ณ ปราสาทบากอง
ก่อนเดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์โดยใช้เส้นทางหมายเลข ๖๗

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ท่านละ 6500บาท

12 ต.ค. 2553

บทสัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุัอัคคีภัย ณ ตลาดชายแดนช่องจอม



เนื่องจากเหตุเพลิงไหม้ที่ตลาดช่องจอม เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 53 ที่ผ่านมา อ.ชัยมงคล ได้ไปสัมภาษร์ผู้ประสบภัยคนหนึ่ง ผมฟังชื่อเขาไม่ชัดแฮะแต่เคยเห็นเดินอยู่แถวๆ ที่ผมไปสอนเด็กเขมร วิดิโอดีก็ก็ได้เล่าเหตุการณ์คร่าว (วิดิโอนี้ถ่ายทำเมื่อ 9 ต.ค. 53)

ตอนท้ายๆ มีการพูดถึงการดำเนินชีวิตต่อไปหลังจากเสียสินค้าราคาหลายแสนแล้ว ชายคนนี้ก็ยังมุ่งมั่นจะทำธุรกิจต่อ เขาพูดถึงการไปขอเชื่อสินค้ามาขายก่อนและมีความหวังว่าอะไรๆ มันคงจะดีขึ้น

29 ก.ย. 2553

ជំរាបសួរសាក

ខ្ញុំមរកត
សូមជំរាបសូរបងៗពូៗទាំងអស់
ខ្ញុំបាទជាជនជាតិខ្មែរ ធ្លាប់បានចូលទៅបួសនឹងរៀននៅស្រុកថៃ ។ សុរិន ក៏ធ្លាប់នៅដែរគឺនៅគោគ ធ្យូង ជាអាស្រមដ៏តូចមួយ ជាវត្តមានលក្ខណះបត្តិបតិធម៌ ភាវនាធម៌ ខ្ញុំបាទនឹកទីកន្លែងនោះណាស់តែខ្ញុំភ្លេចកន្លែងទៅហើយ។

16 ก.ย. 2553

โครงการศึกษาภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลาน (วันที่ 3-4)


วันที่สามและสี่กิจกรรมทั้งหมดเป็นการถอดความในใบลานฉบับตาฮอง ซึ่งมีทั้งหมด 42 หน้าในส่วนที่เหลือทั้งหมด ต่างจากสองอาทิตย์แรก ที่ส่วนใหญ่วิทยากรจะพาอ่าน มาเป็นการให้อ่านพร้อมๆ กัน ช่วงแรกๆ จะพบว่าลุงๆ ป้าๆ จากบ้านสวายอ่านได้อย่างเร็วมาก จนเพื่อนๆ ตามไม่ทัน สอบถามได้ความว่าทุกวันนี้ก็ยังฤกษ์ยามในการทำการเกษตรโดยตำราโหรที่คล้ายๆ กันกับตำราฉบับนี้

17 ส.ค. 2553

โครงการศึกษาภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลาน (วันที่ 2)

หลังจากการเรียนสัปดาห์แรกผ่านพ้นไป ดูเหมือนว่านักเรียนจะเริ่มคุ้นเคยกับใบลานมากขึ้น สัปดาห์นี้วิทยากรเปลี่ยนให้เราได้ศึกษากับใบลานฉบับตาฮอง (เรียกตาม ตาฮอง เจ้าของใบลาน อาศัยอยู่ที่ บ้านเขวา อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์) ใบลานมัดนี้เป็นใบลานที่มีความกว้างไม่มาก ตัวหนังสือใหญ่กว่าและดูง่ายกว่าฉบับเกรกาล ที่เราใช้ศึกษาเมื่อครั้งที่แล้ว



สัปดาห์นี้ไม่มีการเขียนคำอ่านที่ผ่านการถอดความเหมือนก่อนหน้า วิทยากรจะฉายภาพแสกนบนโปรเจคเตอร์และให้ทั้งห้องช่วยกันอ่านไปพร้อมๆ กัน หลังจากอ่านไปได้สิบกว่าแผ่นก็ย้อนมาอ่านอีกรอบ คราวนี้ให้อ่านคนละใบทีละคนแทน

ปัญหาของผมก็ยังมีอยู่้เช่นเดิม คือผมไม่ชินกับอักษรโมลและการสะกดคำแบบแปลกๆ ที่ใช้อยู่ในสมัยนั้น ส่วนป้าๆ ลุึงๆ ที่มาจากบ้านสวาย ดูจะอ่านได้คล่องกว่าคนอื่นๆ



สัปดาห์นี้มีการพยามแก้ปัญหาเรื่องการอ่านใบลานไม่สะดวก เพราะถ่ายสำเนาใบลานแบบขาวดำมาอยู่ในเอกสารประกอบการอบรม สำหรับครั้งนี้ผู้จัดได้นำเครื่องโน้ตบุคส์มาสามสี่เครื่อง แล้วให้อ่านใบลานที่แสกนไว้ผ่านหน้าจอโน้ตบุคส์ ปรากฏว่าได้ผลดีพอสมควร เพราะเห็นสีสันชัดเจนและซูมดูโดยละเอียดได้ (จะว่าไปแล้วก็สะดวกกว่าอ่านใบลานของจริงโดยตรงซะอีก)

เนื้อหาของใบลาน
เนื้่อหาในใบลานมัดนี้เป็นร้อยแก้วเกี่ยวกับตำราโหร เช่น วันตัดผม ตำแหน่งชีพจรตามวันเวลา การตั้งเสาร์บ้าน เป็นต้น
ผมจะขอแปลตัวอย่างสักแผ่นสองแผ่นแรกมาให้อ่านนะครับ


[คลิ๊กเพื่อชมภาพที่มีความละเอียดสูงได้]

សិត្ធិការ្យ ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ១ មានអាយូសវែងហោង​ ។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ២ នូវមានទោស អាត្មាហោ។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៣ បំបាត់ទុកផង​ ។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៤​ មានជុំលោះប្រកែក​។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៥ នូវអ្នកផងស្រលាញ់ច្រើនឲ្យទ្រព្យ។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៦ (จบแผ่นแรก)
สิทธิการิยะ ตัดผมวันที่ 1​ (ตามปฏิทินจันทรคติีเริ่มนับจากวันอาทิตย์) มีอายุยืนยาว
ตัดผมวันที่ 2 เป็นโทษกับตนเอง
ตัดผมวันที่ 3 ทำให้หมดทุึกข์
ตัดผมวันที่ 4 ทำให้ทะเลาะกัน
ตัดผมวันที่ 5 มีคนรักและให้ทรัพย์สมบัติ
ตัดผมวันที่ 6 (จบแผ่นแแรก)



នូវមានអាហារច្រើនហោង​។
ទោះកាត់សក់ថ្ងែ ៧​ នូវមានជំងឺឈឺដំកាត់ហោង
(ต่อ) มีอาหารอุดมสมบูรณ์
ตัดผมวันที่ 7 ทำให้เจ็บป่วย

เพิ่มเติม
- ชมภาพใบลานที่ใช้ศึกษาได้ที่นี่ (ความละเอียดสูงสามารถดาวน์โหลดไปศึกษาเองได้)
- ชมภาพกิจกรรมได้ที่นี่่

8 ส.ค. 2553

โครงการศึกษาภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลาน (วันที่ 1)

ผมได้เข้าร่วม(หรือ บางทีผมอาจจะอยู่ฝ่ายผู้จัดมากกว่านะ ?) โครงการศึกษาภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลาน ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 7,14 และ 21 สิงหาคม 2553 ณ วัดจำปา ต.ในเมือง จ.สุรินทร์



ที่มาของกิจกรรมนี้คือ ทางสมาคมฯ เองก็ทำงานด้้านสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ภาษาถิ่นอยู่แล้ว การศึกษาภาษาถิ่นจากคัมภีร์ใบลานก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ดำเนินการอยู่นอกจากกิจกรรมสอนภาษาเขมรที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้เปิดการอบรมการเรียนภาษาเขมรสุรินทร์จากคัมภีร์ใบลานขึ้นสำหรับผู้สนใจขึ้น (ใครสนใจก็มาร่วมได้เลย ไม่ต้องสมัคร ไม่ต้องแจ้งอะไรทั้งสิ้น เสียค่าเอกสาร 50 บาท) จุดประสงค์อีกประการของกิจกรรมนี้คือ ต้องการลบความเชื่อของหลายๆ คน ที่เชื่อว่า "เขมรสุรินทร์ไม่มีภาษาเขียน" ซึ่งจารึกในใบลานที่ีมีอยู่ตามวัดต่างๆ คงจะตอบได้ว่าความเชื่อดังกล่าวถูกต้องหรือไม่



เนื้อหาการอบรมในครั้งแรกมีดังนี้
1.แนะนำและจำแนกประเภทของสื่อที่บันทึกเรื่องราวในอดีต
ผมก็ฟังได้คร่าว มีการพูดถึง "จบับ" , "เรียมเกร" และ "ศิลาจารึก" และเนื้อหาโดยร่วมๆ ที่มีการบันทึกลงในสื่อแต่ประเภท

2. แนวทางการอ่านใบลาน
2.1 อ่านอักษรที่อยู่บนใบลาน
เริ่มจาการแสกนใบลานมาเก็บไว้ก่อนและเริ่มอ่านสิ่งที่เขียนไว้ทุกๆ ตัวอักษรโดยละเอียด การแกะตัวอักษรบนใบลานจากหน้ากระดาษที่ถ่ายเอกสารมาอีกทีทำให้ต้องเพ่งอย่างมาก ผมแนะนำให้ซื้อแว่นขยายมาใช้เป็นเครื่องมือด้วย อักษรที่เขียนนั้นมีบางส่วนที่เขียนไม่เหมือนในปัจจุบัน (จริงๆ ต้องบอกว่า ในปัจจุบันไม่เหมือนสมัยโน้นมากกว่า) รวมทั้งไวยากรณ์ การสะกดที่ดูแปลกๆ จึงต้องมีการตีความจากบริบทต่างๆ ประกอบด้วย


[นี่คืือใบลานที่ถูกอ่านออกมาแบบดิบๆ (คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)]

เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนนี้ ท่านจะได้ภาษาโบราณออกมา อ่านพอเข้าใจแต่ก็ดูแปลกๆ

2.2 แปลจากภาษาโบราณเป็นภาษาปัจจุับัน
เมื่อได้ภาษาโบราณแล้ว เราก็แปลให้สละสลวยเป็นภาษาในยุคปัจจุบันให้คนทั่วไปอ่านได้ หรือจะนำวิเคราะห์สังเคราะห์ฺอะไรก็ตามที่ท่านต้องการ

3. การฝึกปฏิบัติ
เราเริ่มศึกษาจาก​​​​คำประพันธ์ที่เรียกว่า จบับเกรกาล​(เก-ระ-กาล) ซึ่งเป็นร้อยกรองประเภทกาพย์ "พรหมกิติ์"(เป็นชื่อประเภทของกาพย์ชนิดหนึ่ง) ที่ได้มาจากใบลานของวัดจำปานี่เอง ผู้บรรยายได้จัดแสกนใบลานเองในเอกสารประกอบการอบรมไว้แล้ว ในการฝึกปฏิบัติจะย้อนกระบวนการในข้อ 2 คือแทนที่จะให้ผู้รับการอบรมตีความเอง ผู้บรรยายจะนำเนื้อหาที่เป็นภาษาปัจจุึบัน , เนื้่อหาที่เป็นภาษาโบราณ ที่ถอดความมาก่อนแล้ว มาให้ศึกษาและฝึกอ่านให้คล่องก่อน



จากนั้นจึงให้กลับไปลองอ่านจากใบลาน เพื่อให้เปรียบเทียบและทำความเข้าใจว่า ตัวอักษรแต่ละตัวในใบลานนั้น มีการถอดความมาได้อย่างไร หากมีข้อข้องใจก็ซักถามได้

การเลือกกาพย์มาให้ศึกษาในเบื้องต้นมีข้อดีหลายประการ คือ ข้อบังคับเรื่องจำนวนคำและสัมผัสคล้องจองในกาพย์จะทำให้สามารถตีความเนื้อหาที่ไม่เข้าใจได้ง่ายขึ้น การฝึกอ่านคำคล้องจองก็ไพเราะดีทำให้ไม่น่าเบื่อ โดยเนื้อหารวมๆ ของกาพย์ดังกล่าวเป็นเรื่องของเศรษฐีสั่งสอนให้ลูกหลานได้ประพฤติปฏิบัติตัวใด้ดี

สำหรับการอบรมคราวต่อไป วิทยากรให้ไปอ่านใบลานบางส่วนมาเองล่วงหน้า

ส่ิงท้าย
การอบรมนี้เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจ ซึ่งสามารถเข้าร่วมได้ในวันเวลาที่เหลือดังกล่าว ถึงแม้ท่านไม่รู้ภาษาเขมรแม้แต่น้อย ท่านก็สามารถเข้าร่วมกับพวกเราในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้เช่นกัน

เพิ่มเติม
- ชมภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่นี่

โปรแกรมเยี่ยมชมนครวัดและทำบุญในวันเข้าพรรษา


สมาคมภาษาและวัฒนธรรม ได้จัดโปรแกรมเยี่ยมชมนครวัดและทำบุญในวันเข้าพรรษาสำหรับผู้่สนใจภาษาเขมร เมื่อวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2553

2 ส.ค. 2553

โีครงการอบรมภาษาเขมรสำหรับข้าราชการในจังหวัดสุรินทร์ ปี 2553

สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ร่วมกับสมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ได้จัดอบรมภาษาเขมร หลักสูตร 60 ชั่วโมง ให้กับข้าราชการในสังกัดที่สนใจ การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นในวันเสาร์อาทิตย์ ณ ห้องประชุมชั้นสอง ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมจนถึงวันที่ 3 กรกฏาคม 2553 โดยมีข้าราชการให้ความสนใจเข้าร่วมการอบรมประมาณ 40 คน


เพิ่มเติม
- ชมภาพกิจกรรมได้ที่นี่

31 ก.ค. 2553

หน่วยเสียงของภาษาไทย


ระหว่างสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภาษาเขมร บังเอิญไปเจอเว็บเพจที่แสดงบันทึกหน่วยเสียงภาษาไทยด้วยระบบ IPA เลยจับภาพมาให้ดูกัน รายละเอียดดูได้จาก เว็บไซ์ ​Omniglot หรือดาวน์โหลดในรูปเอกสาร PDF ได้จากที่่นี่